บริการทดสอบสารก่อภูมิแพ้อาหาร (Food Allergen Testing)
ภูมิแพ้อาหาร (Food allergy) หรือ อาการแพ้อาหาร เกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันร่างกายที่ผิดปกติต่ออาหารที่รับประทานเข้าไป มักเป็นสารอาหารประเภทโปรตีน เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารชนิดหนึ่งร่างกายจะสร้างสารภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดี (Antibody; Ig) ที่จำเพาะต่อสารอาหารชนิดนั้นออกมา โดยมากการแพ้อาหารจะเกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานชนิดอี (Immunoglobulin E; IgE) อาการภูมิแพ้อาหารมักจะแสดงเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารนั้นอีกครั้ง
เกณฑ์การแสดงฉลากที่เกี่ยวข้องกับ Food Allergen
สำหรับประเทศไทย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 383) พ.ศ. 2560 เรื่องการแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ กำหนดให้ผู้ประกอบการแสดงฉลากเกี่ยวกับอาหารก่อภูมิแพ้ มีการกำหนดให้แสดงชนิดและส่วนประกอบของอาหารที่เป็นสาเหตุของการแพ้หรือสารที่ก่อภูมิไวเกิน จำนวน 9 ชนิดได้แก่ ธัญพืชที่มีกลูเตน สัตว์น้ำที่มีเปลือกแข็ง ไข่ ปลา ถั่วลิสง ถั่วเหลือง นม ถั่วเปลือกแข็ง และซัลไฟต์ (ที่มีปริมาณมากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
กฎระเบียบสารก่อภูมิแพ้ที่ต้องแสดงในฉลากอาหาร (Allergen regulation)
กฎระเบียบในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ดังเช่น สหภาพยุโรปที่ใช้อ้างอิงคือ EU regulation 1169/2011 ซึ่งกำหนดว่าหากมีสารก่อภูมิแพ้ดังนี้ในอาหารให้ระบุที่ฉลากอาหาร ได้แก่ ธัญพืชที่มีกลูเตน ,นม,ไข่,ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ถั่วทรีนัท, ปลา, คื่นช่าย, มัสตาร์ด, งา, ลูปิน ,สัตว์น้ำที่มีเปลือกหุ้ม ,สัตว์น้ำตระกูลมอลลัส และซัลไฟต์
ขอบข่ายการบริการ:
Allergen Gluten (Calculate as Gliadin), Allergen Wheat (Calculate as Gliadin), Allergen milk, Allergen egg, Allergen peanut, Allergen sesame, Allergen crustacean, Allergen soya, Allergen mustard, Allergen celery